ขจร

สุขภาพ

กระตุ้นสมองแก้หลงลืม

กระตุ้นสมองแก้หลงลืมถ้าจะว่ากันแล้ว สมองคนเรามหัศจรรย์กว่าเจ้าคอมพิวเตอร์สมองกลเป็นไหนๆ โดยเฉพาะคนวัยทำงานสมองดี ความจำดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง หากเราโหมทำงานจนละเลยสุขภาพตัวเอง อะไรๆ ที่เคยใช้การได้ดีก็อาจรวนขึ้นมาได้บ้าง ใครที่รู้ตัวว่าเริ่มจะขี้หลงขี้ลืมบ้างแล้ว วันนี้มีสารพัดวิธีมาช่วยกระตุ้นสมอง ให้ความจำดีขึ้นได้ครับ รับรองทำตามกันได้แบบง่ายๆ แน่นอน

ยังไม่แก่…แต่ทำไมขี้ลืม
อาการหลงลืมง่ายของคนวัยทำงาน มักเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวลจากการงานระหว่างวัน ทำให้เมื่อถึงเวลานอนหลับพักผ่อน ก็หลับไม่สนิท นอนหลับๆ ตื่นๆ ทำให้เวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรังตามมา
นอกจากนั้นแล้ว ชีวิตที่รีบเร่ง ซึ่งทำให้รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ความสามารถในการจำลดลงได้
วิธีฟื้นความสามารถในการจดจำมีอยู่หลากหลายวิธี ได้เวลาปรับเปลี่ยนชีวิตนิดๆ หน่อยๆ ให้ไม่หลงลืมง่ายและจำแม่นขึ้นแล้วครับ

กระตุ้นสมองช่วยจำ
มีเคล็ดลับที่น่าสนใจว่า แต่ละคนมีความถนัดในการเก็บข้อมูลเข้าสู่สมอง แตกต่างกันออกไป บางคนชอบที่จะฟังเพื่อเก็บข้อมูล บางคนชอบเรียนรู้ผ่านภาพ การกระตุ้นสมองควรทำทุกอย่างควบคู่กันไป
1. กระตุ้นสมองให้ตื่นตัวเสมอ ยามว่างลองใช้ เวลาเล่นปริศนาอักษรไขว้ (crossword) หรือเกมปริศนาอื่นๆ เช่น เกมปริศนาตัวเลขซูโดคุ การเล่นเกมปริศนาเหล่านี้ มีส่วนช่วยกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว และทำงานประสานกันดีขึ้น ช่วยฝึกไหวพริบ และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

กระตุ้นสมองแก้หลงลืม
2. ติดตามข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นข่าวสารของครอบครัว ข่าวภายในประเทศ และข่าวต่างประเทศ นอกจากนั้นแล้วการอ่านหนังสือที่ให้ความรู้ใหม่ๆ ก็กระตุ้นสมองได้อย่างดี
3. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายความสามารถ เช่น เรียนภาษาต่างประเทศ สมาคมพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนกลุ่มใหม่ๆ ก็ช่วยกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวได้เช่นกัน
4. กระตุ้นความจำระยะยาว หลายคนคงเคยมี ประสบการณ์จำอะไรๆ ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ การกระตุ้นความจำระยะยาว จึงควรฝึกอย่างสม่ำเสมอ หากมีข้อมูลสำคัญยากๆที่ต้องจดจำ ก็ลองใช้วิธีจับตัวอักษรของข้อมูลนั้น สร้างสัญลักษณ์หรือผูกเป็นประโยค เพื่อให้จำง่ายขึ้น
5. เตือนความจำ ทบทวนข้อมูลใหม่ๆ ซ้ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็น วิธีหนึ่งที่ช่วยได้ ก่อนนอน ใช้เวลาทบทวนสิ่งที่ได้ทำมาในแต่ละวัน
6. จดบันทึกช่วยจำ การจดบันทึกอีกครั้ง ช่วยให้จำได้แม่นยำขึ้นได้ ที่สำคัญคือช่วยให้เราไม่พลาดลืมสิ่งสำคัญๆ

หายใจอย่างไรให้ความจำดี
การหายใจบางวิธี มีส่วนช่วยให้การจดจำดี ขึ้น การหายใจตื้น และเร็วขณะวิตกกังวล ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในระยะยาวอาจมีผลเสียต่อความจำได้ การหายใจแบบโยคะต่อไปนี้ช่วยได้ ลองฝึกดูนะครับ
1. นอนหงายในท่าศพ หรือที่เราเรียกกันว่าแผ่สองสลึง อาจมีผ้าพับรองศีรษะหรือหลังไว้
2. หลับตา แต่ให้คิดว่าสายตาจดจ้องอยู่ตรงหน้าอก ผ่อนคลาย และสังเกตว่าลมหายใจค่อยๆ ช้าลง
3. รับรู้ตามลมหายใจที่ผ่านเข้าออกร่างกาย
4. ฟังเสียงหายใจเบาๆ สังเกตความแตกต่างระหว่างลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
รับรองว่าวิธีหายใจแบบนี้ทำให้หายใจได้ลึก ซึ่งทำให้รู้สึกสบายและผ่อนคลายขึ้น พลอยทำให้ความจำดีขึ้นด้วยครับ

อาหารบำรุงสมอง
การกินอาหาร เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้สมองทำงานได้ดี จึงขอแนะนำให้กินมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง อาหารบางประเภทมีประโยชน์ต่อสมอง และความสามารถในการจดจำโดยตรง ซึ่งมีดังนี้ครับ
1. อาหารพวกธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ อาหาร เหล่านี้อุดมด้วยกรดโฟลิก แคลเซียม ทองแดง ไอโอดีน เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส ซีลีเนียม กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และวิตามินอี ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ ช่วยการทำงานของระบบประสาท และหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
2. ปลาที่มีมันมาก เช่น ปลาแซลมอน มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น และยังมี DHA และ ฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ทุกชนิด
3. วิตามินเสริมและเกลือแร่รวมต่างๆ ได้แก่ กลุ่มวิตามินบี วิตามินอี น้ำมันปลา ฟอสฟาทิดิล ซีรีน (phosphatidyl serine) ซึ่งสมองใช้ในการเรียกความทรงจำ และยังชะลออาการหลงลืมได้ด้วย

แหล่งข้อมูล: www.cheewajit.com

-0

สิ่งอำนวยความสะดวก

1.ที่จอดรถ

  • ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ/ผุ้พิการ
  • ที่จอดรถสำหรับสุภาพสตรี

2.ทางเดิน/บันได

  • ทางลาดสำหรับรถเข็น
  • ราวจับบันได
  • ลิฟท์
  • ทางเดินกว้าง (easy walk in access)
  • ราวจับทางเดิน
  • พื้นไม่ลื่น

3.ห้องน้ำ

  • ห้องน้ำคนพิการ/คนสูงอายุ (wheelchairเข้าได้)
  • ต้องขึ้นบันไดเพื่อไปห้องน้ำ
  • ชักโครก (แบบนั่ง)
  • ราวเกาะ
  • พื้นไม่ลื่น

4.สิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษ

  • มีรถเข็น wheelchair / ไม้เท้า บริการ

Leave a Reply